ปางสมาธิ (Dhyana mudra) สัญลักษณ์แห่งภูมิปัญญา

สวัสดีเพื่อนๆทุกคนครับ ไม่ต้องแปลกใจนะครับว่าเข้าผิดบล็อกนะครับ เพราะวันนี้ผมจะมานำเสนอความรู้เล็กๆน้อยๆ เกี่ยวกับท่าทางพระพุทธรูป ซึ่งพระพุทธรูปต่างเนี่ย สามารถบอกอะไรกับเราได้มากมายเลย เช่นความเป็นมา หรือความหมายที่ต้องการจะสื่อ ซึ่งพระพุทธรูปที่ผมจะนำเสนอในครั้งนี้ก็คือ ปางสมาธิ หรือธยานมุทรา (Dhyana mudra)



ลักษณะภายนอก

ปางสมาธิ เป็นพระพุทธรูปลักษณะนั่งสมาธิ นั่งลำพระองค์ตั้งตรง พระบาท(เท้า)ทั้งสองซ้อนกัน โดยพระบาทขวาทับอยู่บนพระบาทซ้าย พระหัตถ์(มือ)ทั้งสองวางหงายซ้อนกันบนเพลา(ตัก)




ความเป็นมาของปางสมาธิ

หลังจากที่พระบรมโพธิสัตว์มีชัยชนะเหนือพญามารแล้ว ทรงบำเพ็ญสมาธิต่อ เมื่อจิตตั้งมั่นบริสุทธิ์ผ่องใสปราศจากอุปกิเลสแล้ว ในปฐมยามทรงบรรลุจตูปปาตญาณ คือสามารถหยั่งรู้การเวียนว่ายตายเกิดของสรรพสัตว์ว่าสัตว์ทั้หลายเกิดมาแล้วตายไป ประสบสุขและทุกข์ตามกรรมที่ทำไว้ และในปัจฉิมยามพระองค์ทรงบรรลุอาสวักจยญาณ ทรงทำอาสวกิเลสทั้งหลายให้ดับสิ้นไปจนได้บรรลุอนุตสัมมาสัมโพธิญาณ ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในเวลารุ่งอรุโณทัย

จบลงแล้วนะครับสำหรับการนำเสนอด้านพระพุทธรูปของผมในวันนี้ หวังว่าเพื่อนๆจะได้รับประโยชน์จากการศึกษาพระพุทธรูป ปางสมาธิ ในครั้งนี้นะครับ ขอบคุณทุกคนที่เข้ามารับชมครับ

อ้างอิง
พระพุทธรูปปางสมาธิ , สืบค้นเมื่อ 20 กันยายม 2562 , ที่มา https://www.dmc.tv/page_print.php?p=buddha_biography/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B4.html




ความคิดเห็น