Cyberbullying การระรานทางไซเบอร์
สวัสดีผู้อ่านอีกครั้งครับ หลายๆ คนคงคุ้นเคยกับการใช้อินเตอร์เน็ตเป็นอย่างดี แต่ทุกคนก็รู้ใช่ไหมครับว่าอินเตอร์เน็ตก็เปรียบเสมือนดาบสองคม มี่ทั้งด้านดีและด้านเสียหรือบางทีมันก็อาจจะกลับมาทำร้ายตัวเราเอง วันนี้ผู้เขียนเลยอยากจะนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาหนึ่งของการใช้อินเตอร์เน็ตนั่นก็คือ Cyberbullying ที่ทุกคนอาจประสบพบเจอและคุ้นเคยเป็นอย่างดี
ที่มา : https://mediaandsociety.org/cyberbullying-and-preventions/
Cyberbullying คืออะไร?
Cyberbullying คือ การใช้เครื่องมือสื่อสารเช่นโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ เชื่อมต่อเครือข่ายสังคมออนไลน์ไม่ว่าจะเป็น เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ อินสตาแกรม แชท หรือเว็บไซต์ต่าง ๆ เป็นเครื่องมือหลักในการรังแกหรือกลั่นแกล้งกัน ยกตัวอย่างเช่น การโพสต์ การแชร์ หรือการส่งต่อข้อมูลอันเป็นเท็จของ บุคคลอื่น ซึ่งมักจะเป็นข้อความหรือเนื้อหาในทางให้ร้าย กระทำการอันใดที่ส่งผลให้เกิดความอับอายต่อ ผู้อื่น และบางทีก็อาจเป็นการกระทำที่ เลยเถิดถึงขั้นผิดต่อกฎหมาย จริยธรรม รวมไปถึงเป็นการละเมิด สิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่นอีกด้วย
สาเหตุของ Cyberbullying คืออะไร?
สาเหตุของการเกิด Cyberbullying มีทั้งเริ่มจากความขัดแย้งเล็กๆ ความหมั่นไส้กัน หรือ มีกรณีเรื่องชู้สาว อันเป็นชนวนของการรังแกกันต่อในโลกออนไลน์ เนื่องจากพื้นที่บนโลกออนไลน์ ไม่ต้องเปิดเผยตัวตน ด้วยเหตุนี้จึงมีความกล้าที่จะรังแกกันมากขึ้น นอกจากนี้คนส่วนใหญ่ยังเข้าใจว่า โซเชียลคือพื้นที่ระบายความรู้สึก ถ้อยคำที่ใช้โพสต์ หรือพฤติกรรมในการกลั่นแกล้งกันออกแนวรุนแรง แสดงอารมณ์ออกมาได้อย่างเต็มที่ อีกทั้งเทคโนโลยียังเอื้อให้การทำร้ายกันผ่านโซเชียล เป็นเรื่องง่าย แค่พิมพ์ข้อความไปไม่ต้องเสียกำลังอะไรก็โพสต์เสียดสีหรือสร้างความเสียหายให้อีกฝ่ายได้แล้ว
ที่มา : https://kidshelpline.com.au/kids/issues/cyberbullying
ผลกระทบจาก Cyberbullying มีอะไรบ้าง?
ผลกระทบจาก Cyberbullying ที่มีต่อเด็กๆ อาจมีตั้งแต่สร้างความรำคาญ ความเดือด เนื้อร้อนใจ บางคนรู้สึกเบื่อชีวิต ไม่อยากไปโรงเรียน ไม่อยากพบเจอใคร โดยมีเรื่องที่ถูกรังแกตามมาหลอกหลอนเป็นระยะ หรือบางรายอาจมีความเครียดอย่างหนัก ทำให้กินไม่ได้ นอนไม่หลับ และอาจร้ายแรงถึงขั้นไม่อยากมีชีวิตอยู่ เป็นผลให้รู้สึกอยากฆ่าตัวตาย ส่วนคนที่เป็นฝ่ายรังแก อาจมีความรู้สึกไม่สบายใจหรือเกิดความรู้สึกผิดกัดกินใจในภายหลังได้เช่นกัน แต่อย่างไรก็ดี ผลกระทบจาก Cyberbullying ไม่ว่าจะต่อผู้รังแกหรือผู้ถูกรังแกนั้น จะมากหรือน้อย ก็ขึ้นอยู่กับบุคลิกของแต่ละบุคคล รวมไปถึงทักษะการรับมือของแต่ละคนด้วย
รับมืออย่างไรดีกับ Cyberbullying
• อย่าตอบสนอง ยิ่งเรามีปฏิกิริยาตอบโต้ก็จะยิ่งสมดั่งใจที่เขาต้องการ ดังนั้นนิ่งไว้จะดีกว่า ให้เขาดิ้นของเขาไปฝ่ายเดียว
• อย่าตอบโต้ การตอบโต้ด้วยถ้อยคำที่รุนแรงพอๆ กัน หรือวิธีการคล้ายๆ กัน อาจทำให้เรื่องราวยิ่ง บานปลายมากขึ้นได้ดังนั้นเราควรเป็นคนปิดวงจร Cyberbullying ด้วยการนิ่งเฉยจะดีกว่า
• เก็บหลักฐานให้มากที่สุด เดี๋ยวนี้มีกฎหมายคุ้มครองการถูกละเมิดสิทธิส่วนบุคคลหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้สื่อสังคมออนไลน์ดังนั้นหากมีใครมากระทำการอันส่อไปในทางที่ไม่ถูกไม่ควร ไม่เป็นความจริงและสร้างความเสียหายให้กับเราผ่านโลกโซเชียล นั่นจะเป็นหลักฐานที่ดีที่จะเอาผิดกับผู้กระทำได้
• บล็อกไปเลย ถ้ายังราวีไม่หยุดเรามีสิทธิ์ที่จะบล็อกคนนั้นออกจากวงจรโซเชียลมีเดียของเรา ปิดช่องทางไม่ให้เขามาวอแวกับเฟซบุ๊ก อินสตาแกรม หรือทวิตเตอร์เราได้ เพราะการไม่รับรู้ ไม่ตอบโต้ ไม่เดือดร้อนใดๆ ของเราก็จะทำให้ผู้กลั่นแกล้งรู้สึกไม่สนุกและเบื่อไปเอง
• ขอความช่วยเหลือ ถ้าถูกกลั่นแกล้งหนักจนเกินรับมือ เราควรบอกกล่าวปัญหาที่เจอกับคนใกล้ตัว หรือ คนที่มีอำนาจ มากพอจะหยุดวงจร Cyberbullying ได้ เช่น หากเป็นวัยเรียน อาจแจ้งผู้ปกครองและครู ประจำชั้นให้รับรู้ เป็นต้น แต่ในกรณีผู้ใหญ่ อย่าลืมว่าตำรวจช่วยคุณได้ อย่างน้อยการลงบันทึก ประจำวันไว้กับสถานีตำรวจ ก็อาจทำให้ผู้กลั่นแกล้งรู้สึกเกรงกลัวกฎหมายขึ้นมาบ้าง
• ใช้เครื่องมือในสื่อออนไลน์ช่วยจัดการ สื่อสังคมออนไลน์ทุกช่องทางมีตัวเลือกให้เรากดแจ้งให้ผู้บริการสื่อออนไลน์ระงับโพสต์ หรือแบนโพสต์ที่ไม่เหมาะสมได้ ดังนั้นเราก็สามารถใช้วิธีนี้จัดการกับคนที่มากลั่นแกล้งเราได้ เช่นกัน
• ไม่ทำร้ายหรือแกล้งใคร พยายามอย่าทำตัวเป็นชนวนก่อให้เกิดปัญหา เพื่อหลีกเลี่ยงการตอบโต้ในรูปแบบ เดียวกัน ฉะนั้น หากเราไม่อยากถูก Cyberbullying ก็อย่าไปทำ Cyberbullying กับผู้อื่น แม้แต่การ โพสต์บ่นหรือว่าร้ายใคร ในสังคมออนไลน์ก็ไม่ควรทำ
ที่มา : https://kidshelpline.com.au/kids/issues/cyberbullying
มีวิธีป้องกัน Cyberbullying อย่างไรบ้าง?
1. ไม่สื่อสารเรื่องราวที่สร้างความเกลียดชัง เพราะอาจนำไปสู่ความรุนแรง
2. ไม่ส่งต่อข้อความหรือเรื่องราวที่สร้างความเกลียดชัง
3. ตักเตือนเมื่อเห็นการกลั่นแกล้งกันทางโซเชียลมีเดีย โดยใช้ถ้อยคำที่สุภาพและแสดงถึงความเป็นห่วงเป็นใย
การเสียชีวิตของซอลลี่ เหยื่อจากการ Cyberbullying
ที่มา : https://www.zcooby.com/sulli-biography/
ซอลลี่ หรือ ชเวจินรี อดีตศิลปิน girl group วง F(X) ที่ได้เสียชีวิตภายในบ้าน เบื้องต้นมีการสันนิษฐานว่ามาจากการฆ่าตัวตาย และยังมีการระบุอีกว่า ซอลลี่ได้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าขั้นรุนแรง โดยหลายคนได้ตั้งข้อสังเกตว่าจุดสำคัญที่ทำให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นน่าจะมาจากการที่ซอลลี่เจ็บปวดจากการถูกโจมตีบนโลกออนไลน์
นับตั้งแต่ปี 2014 ซอลลี่ได้พบเจอปัญหามากมายทั้งการออกจากวงF(X) การจบความสัมพันธ์กับแฟนหนุ่ม ซึ่งตั้งแต่นั้นมาไม่ว่าเธอจะทำอะไร เธอก็มักจะถูกชาวเน็ตตำหนิไปหมดจนเธอต้องหายจากวงการบันเทิงไปพักใหญ่ แต่ก็ยังมีการอัพเดตเรื่องราวต่างๆ ทาง IG ส่วนตัว ซึ่งไม่ว่าเธอจะทำอะไรก็จะมีชาวเน็ตตามจิกกัดอยู่เสมอ ซึ่งซอลลี่ก็เคยได้ระบายความอัดอั้นตันใจอยู่หลายครั้ง
ที่มา : https://koreajoongangdaily.joins.com/news/article/article.aspx?aid=3063512
อย่างไรก็ตามหลังจากซอลลี่เสียชีวิตลง ก็มีสมาชิกรัฐสภาของเกาหลี และองค์กรอีกกว่า 100 องค์กร ทำการผลักดันกฎหมายหวังเอาผิดความคิดเห็นมุ่งร้ายบนโซเชียล โดยกฎหมายดังกล่าวมีชื่อว่า Sulli Law หรือกฎหมายซอลลี่ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อวางแนวทางควบคุมที่เข้มงวดต่อความคิดเห็นที่เป็นอันตราย
ประสบการณ์ตรงจากWriter
เนื่องจากเราและเพื่อนๆ ทำวีดีโอเต้น cover เพลง K-POP และอัพโหลดให้ชมทาง Youtube จึงทำให้เราได้รับ comment อย่างมากมายจากผู้ชม ทั้งในด้านดีและไม่ดี ซึ่งมีอยู่วันหนึ่งหลังจากที่เราได้อัพโหลดคลิปเต้นcoverลงในยูทูป ก็มีคนเข้ามาดูและคอมเม้นท์เยอะมาก แต่มีคอมเม้นท์นึงที่ทำให้เรารู้สึกแย่เพราะเป็นคอมเม้นท์ที่มีการใช้ภาษาค่อนข้างแรงและตั้งใจโจมตีแค่เราคนเดียว แค่คอมเม้นท์นั้นคอมเม้นท์เดียว ทำให้ในหนึ่งวันนั้นของเรารู้สึกเศร้ามาก มีแม่ที่คอยปลอบเรา และคอมเม้นท์อื่นๆ ที่แสดงความคิดเห็นในด้านบวก ทำให้เราไม่รู้สึกแย่มากไปกว่านี้ หลังจากเห็นคอมเม้นท์นั้นเราได้กดรีพอร์ต และ 2 ชั่วโมงต่อมาคอมเม้นท์นั้นก็ได้หายแต่เราก็ไม่แน่ใจว่าหายไปเพราะเรากดรีพอร์ตหรือมีคนลบ
ประสบการณ์ในครั้งนั้นสอนให้เรารู้ว่าเราควรรับมือและจัดการกับสภาพจิตใจเราอย่างไรบ้างหลังจากเจอการ Cyberbullying เราจึงอยากให้กำลังใจทุกคนที่โดน Cyberbullying อย่าคิดว่าไม่มีใครอยู่ข้างคุณ และอย่าให้ความสำคัญกับข้อความที่ทำร้ายความรู้สึกเรา
การเล่นโซเชียลมีเดียสมัยนี้เหมือนเป็นดาบสองคม ซึ่งอยากแนะนำให้เล่นกันอย่างมีสติ ที่สำคัญ หากเราพบเห็นการ Cyberbullying ก็อย่าดู อย่าแชร์ต่อ อย่าคอมเมนต์ อย่าไปยุ่งเกี่ยวไม่ว่าจะ ทางใด เพราะการแสดงแอ็คชั่นในรูปแบบไหนก็อาจเป็นการส่งเสริมให้ผู้กระทำเกิดความรู้สึกชอบใจ และคิดว่าสิ่งที่ตนทำนั้นถูกต้องเหมาะสม ฉะนั้นคงดีกว่าหากเราจะมาทำความเข้าใจว่า Cyberbullying คืออะไร และมีหนทาง ที่เราจะป้องกันการรังแกบนโลกออนไลน์ไม่ให้กระทบกับจิตใจบุตรหลาน หรือตัวเราเองได้ยังไงบ้าง รวมไปถึงผู้ปกครองควรดูแลการเล่นโซเชียลมีเดียของลูกหลานให้ดีด้วย และหากคนใกล้ตัวมีพฤติกรรมซึมเศร้า หรือเปลี่ยนไปในทางที่ไม่ดี เราควรใส่ใจเขาให้มากขึ้น และหมั่นสังเกตพฤติกรรมการเล่นโซเชียลของเขาด้วย
ที่มา : https://kidshelpline.com.au/kids/issues/cyberbullying
ขอบคุณข้อมูลจาก :
สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, เฟซบุ๊ก ชมรมจิตแพทย์เด็กและ วัยรุ่นแห่งประเทศไทย, กรมสุขภาพจิต, เฟซบุ๊ก Stop Bullying Thailand, วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=27717
snowblack. (2562). การเสียชีวิตของซอลลี่ ดาราเกาหลีหญิง ผลักดันกฎหมายเอาผิด cyberbullying. สืบค้นเมื่อ 26 สิงหาคม 2563, จากเว็บไซต์ https://praew.com/people/asian-people/279112.html
cyberbullying การกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 26 สิงหาคม 2563, จากเว็บไซต์ ://oac.rta.mi.th/data/2020/03/2003020805810904058109-cyberbullying-.pdf
Social media ในปัจจุบันนี้มีทั้งข้อดีข้อเสีย แล้วถ้าหากเราใช้ไปในทางที่ไม่ดีก็สามารถทำร้ายชีวิตคนอื่นได้จริงๆค่ะ
ตอบลบเยื้อหาดีมากค่ะ มีประโยชน์มากๆ การบุลลี่ในปัจจุบันน่ากลัวๆมากเลยค่ะ
ตอบลบสื่อโซเชียลสมัยนี้มันไปเร็วมากจริงๆค่ะ เมื่อเราเล่นแล้วก็ต้องรู้จักแยกแยะและหาภูมิคุ้มกันให้กับตนเอง อ่าเยอะๆ คิดเยอะๆ ก่อนที่จะพิมพ์หรือพูดออกไป... ขอบคุณสำหรับblogดีๆที่นำมาฝากนะคะ
ตอบลบเราต้องเล่นอย่างมีสติจริงๆค่ะ เพราะบางทีการที่เราโพสหรือแชร์บางอย่าง อาจเป็นการทำร้ายคนอื่นได้ ขอบคุณสำหรับบทความที่มีประโยชน์นะคะ
ตอบลบเนื้อหาดีมากๆค่ะ การถูกบุลลี่ก่อให้เกิดฝันร้ายต่อใครหลายๆคนเลย
ตอบลบเนื้อหาครบถ้วนดีมากค่ะ
ตอบลบ